ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าชายเลกา เจ้าชายแห่งแอลเบเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าชายเลกา
เจ้าชายแห่งแอลเบเนีย
ประมุขแห่งราชวงศ์โซกู
ดำรงตำแหน่ง30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 – ปัจจุบัน
ก่อนหน้าเจ้าชายเลกา มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย
ประสูติ26 มีนาคม พ.ศ. 2525 (42 ปี)
แอฟริกาใต้
คู่อภิเษกเจ้าหญิงอีเลีย เจ้าหญิงแห่งแอลเบเนีย
พระนามเต็ม
เลกา อันวา ซ็อก รีซา โบดวง มาซิสวี โซกู
พระบุตรเจ้าหญิงเกรัลดีเนอแห่งแอลเบเนีย
ราชวงศ์โซกู
พระราชบิดาเจ้าชายเลกา มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย
พระราชมารดาเจ้าหญิงซูซาน มกุฎราชกุมารีแห่งแอลเบเนีย

เจ้าชายเลกา เจ้าชายแห่งแอลเบเนีย (อังกฤษ: Leka, Prince of Albania)

พระราชประวัติ

[แก้]

เจ้าชายเลกา เจ้าชายแห่งแอลเบเนีย ประสูติเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2525แอฟริกาใต้ เป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวใน เจ้าชายเลกา มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย กับ เจ้าหญิงซูซาน มกุฎราชกุมารีแห่งแอลเบเนีย ด้วยพระองค์ประสูตินอกประเทศ ทำให้พระราชบิดาหวั่นเกรงว่าจะทรงไม่ได้เป็นรัชทายาท พระราชบิดาของพระองค์จึงแจ้งไปว่าพระราชโอรสประสูติที่แอลเบเนีย แต่รัฐบาลไม่ยินยอม พระนาม อันวา ของพระองค์นั้น ถูกตั้งตามชื่อของ อันวา อัสซาดาต ประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ พระองค์ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์ ซึ่งพระราชบิดาของพระอค์นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็น นักเรียนต่างประเทศที่เรียนดีที่สุด ต่อมารัฐมันตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งแอลเบเนียได้ถวายอาพร์ตเมนท์ใน ลอนดอน เพื่อเป็นที่ประทับกับพระองค์ขณะศึกษาต่อ เมื่อพระองค์ย้ายเข้ามาประทับในแอลเบเนีย ประชาชนชาวแอลเบเนียต่างเคารพและรักพระองค์จนได้รับการถวายพระนามอย่างไม่เป็นทางการว่า พระเจ้าเลกาที่ 2 แห่งแอลเบเนีย

ทรงงานและตำแหน่งผู้อ้างสิทธิราชบัลลังก์

[แก้]

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550 นายลูซิม บัสบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของแอลเบเนียได้ประกาศว่า เจ้าชายเลกา เจ้าชายแห่งแอลเบเนีย เป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์แอลเบเนียได้ ทั้งนี้พระองค์ทรงมีส่วนร่วมในฐานะทูต 2 ปีถัดมารับบาลแอลเบเนียทูลเชิญเจ้าชายให้ย้ายไปทรงงานที่สำนักงานของรัฐมนตรีมหาดไทย ต่อมานายบูจา ฮิสมา ได้รับการเลือกให้เป็นประธานาธิบดีแห่งแอลเบเนีย พระองค์ได้รับการถวายหน้าที่ให้เป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดี

อภิเษกสมรส

[แก้]

พระองต์เข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับ นางสาวอีเลีย เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ พระราชวังหลวงใน ติรานา ซึ่งมีแขกมาร่วมงานไม่มากนัก ทั้งนี้ในพระราชวงศ์ต่างประเทศได้เสด็จพระราชดำเนิน เสด็จมาร่วมงานครั้งนี้ด้วย ดังนี้ สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน เจ้าชายไมเคิลแห่งเคนต์ เจ้าหญิงไมเคิลแห่งเคนต์ อาเลกซานดาร์ คาราจอร์เจวิช แคทเทอรีน แคร์รี เบ็ทติส อดีตมกุฎชราชกุมารและมกุฎมารีแห่งเซอร์เบีย เจ้าหญิงมาร์กาเรตาแห่งโรมาเนีย เจ้าชายนิกอลแห่งมอนเตเนโกร เจ้าชายกีโยม แกรนด์ดยุกรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก เจ้าหญิงซิบิลลาแห่งลักเซมเบิร์ก เจ้าชายกียอร์ก ฟรีดริช เจ้าชายแห่งปรัสเซีย และ เจ้าหญิงเลอาแห่งเบลเยียม ทั้งนี้รวมไปถึงประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรีแห่งแอลเบเนียด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]
ก่อนหน้า เจ้าชายเลกา เจ้าชายแห่งแอลเบเนีย ถัดไป
เจ้าชายเลกาที่ 1 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์แอลเบเนีย
(ราชวงศ์โซกู)

(พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน)
ไม่มี
  1. 1.0 1.1 1.2 "Albanian Royal Family - Royal Decorations and Warrents". Albanianroyalcourt.al. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-18. สืบค้นเมื่อ 2017-01-12.
  2. "zogu2". Royalark.net. สืบค้นเมื่อ 2017-01-12.
  3. "Photographic image" (JPG). Noblesseetroyautes.com. สืบค้นเมื่อ 2017-01-12.
  4. [1]
  5. "Italy honours HRH Prince Leka II and the Albanian Independence". Gazetadielli.com. 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2017-01-12.
  6. "Photographic image". Nobility-association.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (JPG)เมื่อ 2018-07-06. สืบค้นเมื่อ 2017-01-12.
  7. "22052012LekaII". Albania.dyndns.org. 2012-05-22. สืบค้นเมื่อ 2017-01-12.
  8. "Albania's Crown Prince Leka II invested as Knight Grand Cross of the Royal Order of Francis I - Sacred Military Constantinian Order of St. George". Constantinian.org.uk. สืบค้นเมื่อ 2017-01-12.